
ดาวน์โหลด http://www.4shared.com/file/238127772/cf389800/__43_23.html
• ช่วยขับเสมหะ ทำให้ทางเดินหายใจโล่ง เพราะในพริกจะมีสาร Capsacin
ซึ่งจะสังเกตได้ว่าคนที่ทานพริกเข้าไป จะมีอาการน้ำตา น้ำมูกไหล
• ช่วยสลายลิ่มเลือด ลดอาการอุดตันของเส้นเลือด อันเป็นสาเหตุขอโรคหัวใจตีบได้
• ช่วยกระตุ้นสมองส่วนกลางให้หลั่งสารเอนดอร์ฟิน ซึ่งเป็นสารสร้างความสุข
ทำให้เกิดการผ่อนคลาย ช่วยให้ความดันโลหิตลดลง
• ช่วยกระตุ้นให้อยากอาหารเนื่องจากพริกจะไปทำให้ต่อมน้ำลายทำงานมากขึ้น
กระตุ้นปลายประสาทให้สมองส่วนกลางรับรู้การอยากอาหาร
แต่ถ้ารับทานมากเกินไป อาจทำให้เกิดการระคายเคือง
ในกระเพาะอาหารได้
ที่มา: นิตยสารชีวจิต ปีที่ 6 ฉบับที่ 122 พ.ย. 2546
โดยการนำโหระพาทั้งต้นไม่ต้องเด็ดรากทิ้ง กะพอประมาณใช้พอกเข่าได้มิด
จากนั้นนำไปล้างให้สะอาด ตำพอละเอียดใส่เหล้าขาว 40 ดีกรีเล็กน้อยคนให้เข้ากัน
ก่อนนำไปตั้งไฟแค่พอร้อน (ไม่ต้องถึงกับเดือด) ทิ้งไว้ให้อุ่น นำไปพอกเข่าประมาณ
10-15 นาที ทำวันละ 1-2 ครั้ง
ที่มา: นิตยสาร Lisa weekly คอลัมน์ Health News vol.6 no.42 วันที่ 27.10.2005
ความอร่อยของเนื้อมัทสึซากะอยู่ที่ความนุ่มและมีกลิ่นหอมโดยเฉพาะเมื่อนำมาทอด
บนกระทะเหล็กแผ่นขัดเงา ร้อนจัด ที่เรียกว่า เทปันยากิ หรือเอามาฝานบางๆ
เป็นแผ่นใหญ่โดยมิให้ขาดรุ่งริ่ง แล้วเอามาทำสุกียากี้หรือชาบุ-ชาบุ ใช้ตะเกียบคีบ
จุ่มลงในน้ำแกงจืดร้อนจัดเพียงครึ่งนาที ก็เอามาจิ้มลงในซอสงาบด หรือปอนสุ
แล้วใส่ปาก จะรู้สึกอร่อยจนบอกไม่ถูก
เจ้าของวัวจะดูแลวัวอย่างพิถีพิถันถึง 3 ปี (วัวที่เลี้ยงเพื่อขายปกติจะมีอายุไม่เกิน 2 ปี)
โดยขุนให้อ้วนที่สุด และเลี้ยงในคอกไม้ตอกสลักไม้ประมาณ 2 ต.ร.ม. พอดีตัววัว
ท่อน้ำก็ทำด้วยพลาสติก เพราะเกรงโลหะจะขีดข่วนให้วัวเกิดตำหนิ
และเจ้าของคอกทุกแห่งหวังจะเลี้ยงวัวให้ได้ชนะเลิศแชมเปี้ยน
เพราะจะทำให้ขายวัวได้ราคาสูงเป็นหมื่นๆ ดอลลาร์เลยทีเดียว
ที่มา: หนังสือข้างครัว เล่ม 2 โดย: พิชัย วาศนาส่ง
ในสมัยกลางผู้คนท่องคาถานี้กันบ่อยครั้งเพื่อปัดเป่าโรคภัยร้ายกาฬโรคที่ระบาด
อย่างหนักในยุโรป ทุกวันนี้นักมายากลนิยมพูดคำๆ นี้เวลาจะเสกให้สิ่งของหายไป
หรือปรากฏขึ้นมา หรือใช้ในกลมายาอื่นๆฉะนั้นคำนี้จึงได้สูญเสียความหมายดั้งเดิม
ของมันไปแล้ว อย่างไรก็ดี หากคราวหน้าคุณไม่สบาย
ลองท่องคำนี้ดูก็ได้ .."อะบราคาดาบรา"
ที่มา: หนังสือไขปริศนากล้าถามกล้าตอบ 469 คำถามวิทยาศาสตร์คาใจ
โดย: ชาร์ล เจ. กาโซ
แปลโดย: อุทัย วงศ์ไวศยวรรณ
ในข้าวโพดหวานตามธรรมชาติ จะมีสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) อยู่ และมีตัวที่สำคัญคือ กรดเฟรุลิก (Felrulic Acid) จึงถูกใช้สำหรับต่อต้านการแก่ (aging) ป้องกันการเกิดเซลล์มะเร็ง โรคหัวใจ ไข้หวัด รักษาสุขภาพของกล้ามเนื้อ ต่อต้านผลกระทบจากรังสีอัลตราไวโอเลต (จึงป้องกันมะเร็งผิวหนังได้)
จากผลการวิจัยพบว่า การต้มข้าวโพดที่ 115 องศาเซลเซียส มีผลดังนี้
เวลาที่ใช้ในการต้ม | ปริมาณของสารต้านอนุมูลอิสระ | ปริมาณของกรดเฟรุลิก |
10 นาที | เพิ่มขึ้น 22% | เพิ่มขึ้น 240% |
25 นาที | เพิ่มขึ้น 44% | เพิ่มขึ้น 550% |
50 นาที | เพิ่มขึ้น 53% | เพิ่มขึ้น 900% |
ทำให้สรุปได้ว่า ข้าวโพดหวานที่ผ่านการต้มหรือปิ้ง
มีปริมาณของสารต้านอนุมูลอิสระ และกรดเฟรุลิก
ซึ่งมีประโยชน์สำหรับร่างกายเพิ่มมากขึ้น
เมื่อถูกความร้อนสูงขึ้นหรือเป็นเวลานานขึ้น
แต่จะสูญเสียวิตามินบางตัว เช่น วิตามินซี ไปบ้าง
อย่างไรก็ตามข้าวโพดก็ไม่ใช่แหล่งที่ดีสำหรับ
วิตามินซีอยู่แล้ว
ที่มา : นิตยสารใกล้หมอ ปีที่ 31 ฉบับที่ 6 เดือนกรกฎาคม 2550, http://www.redcross.or.th/pr, หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับ วันอังคารที่ 8 เมษายน 2546, หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับ วันจันทร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2545